คนต่างชาติทำใบขับขี่อย่างไร? การขอใบอนุญาตขับขี่สำหรับชาวต่างชาติ

ใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคลโดยทั่วไปจะแบ่งเป็น 2 ประเภท

(1) ใบขับขี่รถชนิดชั่วคราว อายุการใช้งาน 2 ปี

(2) ใบขับขี่รถยนต์ส่วนบุคคล เมื่อใช้ใบขับขี่รถยนต์ประเภทชั่วคราวจนหมดอายุ 2 ปี สามารถนำใบขับขี่มาต่ออายุเป็นใบขับขี่ชนิด 5 ปีได้

เอกสารที่ต้องใช้สำหรับการขอใบขับขี่

(1) พาสปอร์ตที่ได้รับวีซ่าประเภท NON IMMIGRANT VISA ตัวจริงพร้อมสำเนาที่มีลายเซ็น
(2) หนังสือรับรองถิ่นที่อยู่ในประเทศไทย จากสถานทูตหรือหน่วยงานราชการ อายุหนังสือไม่เกิน 1 ปี
(3) หนังสืออนุญาตทำงาน (Work Permit)
(4) ใบรับรองแพทย์ว่ามีสุขภาพสมบูรณ์ จากคลินิกหรือโรงพยาบาล อายุใบรับรองแพทย์ไม่เกิน 1 เดือน

ขั้นตอนการขออนุญาต

(1) ตรวจสอบเอกสาร
(2) ยื่นคำขอ
(3) ทดสอบตาบอดสี
(4) ชำระค่าธรรมเนียม มูลค่า 505 บาท
(5) เข้ารับการอบรม อาทิ อบรมกฎหมายจราจรทางบนเป็นเวลา 1 ชั่วโมง*
(6) ทำการทดสอบสมรรถภาพร่างกาย อาทิ ปฏิกิริยาต่อไฟแดง การกะระยะสิ่งของทางสายตา เป็นต้น
(7) สอบขับรถ
(8) สอบข้อเขียน

*หมายเหตุ สามารถรับการอบรมทางออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์ https://www.dlt-elearning.com/ ทางกรมการขนส่งทางบกของประเทศไทยแนะนำให้รับการอบรมทางออนไลน์มาก่อนเพื่อความสะดวกรวดเร็ว โดยมีหลักฐานคือการถ่ายรูปหน้าจอหลังฟังอบรมเสร็จ

เงื่อนไขที่ไม่ต้องทำการสอบขับรถและสอบข้อเขียน

หากเป็นผู้มีใบอนุญาตขับรถตามกฎหมายระหว่างประเทศ สามารถใบขับขี่ดังกล่าวมาเป็นหลักฐานเพื่อละเว้นการสอบขับรถและสอบข้อเขียนได้ แต่จะต้องเป็นใบขับขี่ที่ยังไม่หมดอายุเท่านั้น นอกจากนั้นใบขับขี่ต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษหรือภาษาไทย พร้อมรับรองคำแปลโดยสถานทูตของประเทศที่ออกใบอนุญาตให้

การจองคิวเพื่อไปทำใบขออนุญาตขับขี่

สามารถจองได้ผ่าน 3 ช่องทางดังต่อไปนี้

เว็บไซต์ : https://gecc.dlt.go.th/login
iOS : https://apps.apple.com/th/app/dlt-smart-queue/id1437480803
Android : https://play.google.com/store/apps/details?id=com.DLT.SmartQueue

ในกรณีที่ไม่ได้จองคิว แต่ละสาขาสามารถวอล์คอินเข้าไปได้ โดยจะมีคิวแยกทั้งสำหรับคนไทยและคนต่างชาติ ในแต่ละวันสามารถวอล์คอินเข้าไปได้ ในกรณีที่เต็มก็สามารถจองคิวแบบวอล์คอินสำหรับวันต่อไปได้เช่นกัน

อาทิ สาขาจตุจักรเปิดรับคนต่างชาติวอล์คอินตอนเช้าวันละ 40 คน เป็นต้น

https://www.dlt.go.th/en/two-year-license/